ศิษย์สัมพันธ์ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงทะเบียนศิษย์เก่า

ความยั่งยืน หมายถึง ? สำคัญอย่างไรต่อชีวิตปัจจุบัน

ความยั่งยืน คือ

โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน และแน่นอนว่าทรัพยากรบนโลกนี้มีอยู่อย่างจำกัด หากใช้โดยขาดการวางแผนและการไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน ก็จะหมดไปอย่างไร้ประโยชน์ จึงทำให้ความยั่งยืนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในด้านนี้โดยตรง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถดำเนินต่อได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

ความยั่งยืน (Sustainability) คืออะไร

ความยั่งยืน (Sustainability) หมายถึง การพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันให้คงอยู่เพื่อต่อยอดสู่อนาคตและตอบสนองต่อความต้องการของคนในปัจจุบัน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลัง โดยความยั่งยืนนี้เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

4 ด้านความยั่งยืน มีอะไรบ้าง

1. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม คือ การใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แน่นอนว่าในปัจจุบันธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้จึงจำเป็นที่ผู้ผลิตจำต้องคำนึงถึงความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงสุด โดยเฉพาะการหมุนเวียนพลังงานให้เกิดคุณค่าที่มากยิ่งขึ้น เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม

2. ความยั่งยืนขององค์กร

การพัฒนาองค์กรให้เกิดความยั่งยืน จำต้องมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ซึงการสร้างวิสัยทัศน์ที่ดีจะต้องประกอบด้วยการมีอุดมการณ์ที่ก้าวไกล เพื่อพัฒนาการวางแผนการปฏิบัติงานต่างๆ  ได้อย่างถูกต้อง มาพร้อมกับพันธกิจ ที่มีความชัดเจนในการปฏิบัติ และการที่องค์กรจะสามารถดำเนินต่อไปได้เป็นอย่างดี จะต้องสร้างสมดุลของ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

3. ความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ

การที่เศรฐกิจจะมีความยั่งยืนได้ จะต้องมีการคาดการณ์ในด้านความเสี่ยงให้ถึงพร้อม และสามารถเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง เพื่อการขยายกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เกิดการเติบโตในระยะยาว และไม่กระทบต่อด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

4. ความยั่งยืนทางอาหาร

ความยั่งยืนทางอาหาร คือ การหยุดความหิวโหยและความขาดแคลน โดยจะต้องคำนึงถึง โดยจะต้องบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และปลอดภัยเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์และเพียงพอต่องร่างกายได้มากที่สุด พร้อมทั้งการคำนึงถึงสุขภาพของตน เพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนในอาหารได้นั่นเอง

5 ความยั่งยืนของ ที่เกิดขึ้นจริง ที่ ม. มหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในสถานศึกษามากที่สุด โดยความยั่งยืนที่เกิดขึ้นจริงในมหาวิทยาลัยมหิดล มีดังนี้

Net Zero Emission

การบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เป็นนโยบายที่มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งก๊าซเรือนกระจก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด Climate Change ที่จะส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศและความแปรปรวน ซึ่งอาจสร้างผลกระทบที่ร้ายแรงตามมาในอนาคต

ดูเพิ่มเติม : https://sustainability.mahidol.ac.th/th/campus/net-zero-emission

Energy

เป็นการจัดการพลังงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการเรียนการสอน การให้บริการทางการแพทย์ การให้บริการทางด้านอื่น ๆ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้ในแต่ละปีมีปริมาณความต้องการการใช้พลังงานที่สูง ทำให้มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้มากยิ่งขึ้น จึงได้มีการสร้างพันธกิจในการจัดการพลังงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ 7 และ 13 ให้สำเร็จ เช่น การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือการนำไบโอดีเซลมาประยุกต์ใช้ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานมาใช้ในการดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อการส่งเสริมการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดูเพิ่มเติม : https://sustainability.mahidol.ac.th/th/campus/energy

Water

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าเพื่อความยั่งยืนและประโยชน์ในการใช้งานที่สูงสุด จึงได้มีการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย โดยจะมีหน่วยระบบน้ำและเครื่องกล งานสาธารณูปโภคและระบบอาคาร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ควบคุมดูแลระบบน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบน้ำผิวดิน ระบบระบายน้ำฝน ระบบน้ำพุ ระบบดับเพลิง กังหันเติมอากาศ เครื่องกลเติมอากาศ และระบบเครื่องกล รวมถึงงานออกแบบปรับปรุงระบบประปาและสุขาภิบาล ระบบปรับอากาศ และระบบระบายอากาศ

ดูเพิ่มเติม : https://sustainability.mahidol.ac.th/th/campus/water

Transportation

ระบบขนส่งและคมนาคมสาธารณะที่ยั่งยืน เป็นนโยบายที่ทางมหิดลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ที่ดินภายในมหาวิทยาลัยและการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งยังสามารถลดมลพิษทางอากาศได้อีกด้วย เช่น การสร้างถนนคนเดิน การพัฒนาปรับปรุงกายกายภาพเพื่อให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ การสร้างรถรางพลังงานไฟฟ้า (Electric Tram) เพื่อลดการเกิดมลพิษและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดที่ยั่งยืน

ดูเพิ่มเติม : https://sustainability.mahidol.ac.th/th/campus/transportation

Waste

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการกำหนดนโยบายในการจัดการขยะและคัดแยกขยะ โดยกำหนดขอบเขตในการจัดการขยะเอาไว้ 5 ประเภท ได้แก่  ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะย่อยสลาย ขยะอันตรายชุมชน และขยะมูลฝอยติดเชื้อ ให้ครอบคลุมทั้งในพื้นที่ของส่วนกลางและพื้นที่ของส่วนงาน เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกิดระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและมีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อมุ่งสู่การเป็น มหาวิทยาลัยสีเขียวและสอดคล้องตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ต่อไป

ดูเพิ่มเติม : https://sustainability.mahidol.ac.th/th/campus/waste

ความยั่งยืน สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อทุกคนร่วมมือร่วมใจกันในการสร้างความมั่นคงให้กับ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่รอดของผู้คนบนโลก และสามารถขัยเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจะสามารถลดความขาดแคลนได้ในภายหลัง และไม่ส่งผลกระทบต่ออนาคตอันใกล้ที่จะมาถึง

Facebook
Twitter
Email

รู้ไว้ก่อนไป Mahidol University Job Fair 2024 เตรียมตัวอย่างไรบ้างนะ ?

ม.มหิดล ร่วมกับ 100 บริษัทชั้นนำทั่วประเทศ จัดโครงการ Mahidol University Job Fair 2024

ประมวลบรรยากาศพิธีมอบรางวัล ศิษย์เก่าดีเด่น 2567 และ งานคืนสู่เหย้า เรามหิดล ครั้งที่ 7 “MU BLUE NIGHT 2024”

ขอเชิญศิษย์เก่าร่วมงาน MU Blue Night “คืนสู่เหย้า เรามหิดล”