ศิษย์สัมพันธ์ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ลงทะเบียนศิษย์เก่า

รศ. ดร.  
วรัญญู 
พูลเจริญ 
ผู้ริเริ่มการพัฒนาและผลิตวัคซีนจากพืชเพื่อคนไทย

รองศาสตราจารย์ ดร. วรัญญู พูลเจริญ ได้พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารีคอมบิแนนท์โปรตีนจากพืช ในการนำไปใช้เป็นยาและวัคซีนสำหรับรักษาและป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคอีโบล่า โรคมือเท้าปาก โรคมะเร็ง เป็นต้น โดยมีงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติมากมาย เช่น PNAS, Plant Biotechnology Journal, Scientific Reports เป็นต้น มีการพัฒนางานวิจัยให้นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เช่น การพัฒนาโปรตีนจากพืชเพื่อนำไปใช้เป็นชุดตรวจแอนติบอดีโควิด 19 และมีการนำไปใช้ในการสกรีนผู้ที่เคยได้รับเชื้อไวรัสโควิด 19 ในช่วงปีแรกของการระบาดของโรค นอกจากนั้น วัคซีนจากพืชที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นสำหรับโรคโควิด 19 ปัจจุบันยังมีการพัฒนาจากห้องปฏิบัติการนำไปสู่การทดสอบในมนุษย์เฟส 1 และกำลังจะเข้าสู่การทดสอบในมนุษย์ในเฟส 2 ในช่วงต้นปี 2566  โดยการพัฒนานี้เกิดขึ้นทั้งหมดในประเทศไทย การพัฒนาวัคซีนจากห้องปฏิบัติการสู่การทดสอบในมนุษย์ เป็นการสร้างพื้นฐานองค์ความรู้ สร้างทีมวิจัย ให้มีการเตรียมพร้อม ที่จะสามารถพัฒนายาหรือวัคซีนชนิดอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนายาและวัคซีนของประเทศต่อไปในอนาคต ผลงานดีเด่นที่สมควรได้รับรางวัลในประเภทวิชาการ/วิจัย คือการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยในประเทศ ประยุกต์และทำงานร่วมกับนักวิจัยในสาขาต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ดังจะเห็นได้จากการนำองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนาในการผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีนจากพืชในการพัฒนาเป็นวัคซีนและยาสำหรับโรคต่าง ๆ และองค์ความรู้เหล่านี้สามารถทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น องค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาวัคซีนโควิดก็ยังคงสามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคอื่น ๆได้ต่อไป

#MahidolUniversityNotableAlumni

 

Related Stories 

ถอดสูตร “วรัญญู พูลเจริญ” ผลิตวัคซีนเพื่อคนไทย โดยคนไทย Click

รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ ผู้พัฒนา “วัคซีนใบยาสูบ” สู้โควิด-19 ความหวังของคนไทย Click

Published on: 17/01/2023 10:05 am
รศ. ดร.วรัญญู

MU Quick Fact

Class of: 2003
Field: Science and Technology
Faculty / Institute / College: Institute of Molecular Biosciences
Degree: Master of Sciences (Molecular Genetics and Genetic Engineering)
Facebook
Twitter
LinkedIn