- นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ เป็นแพทย์เวชศาสตร์ป้องกันด้านระบาดวิทยาที่มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญทั้งด้านการแพทย์และการสาธารณสุขและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการโรคติดต่อต่างๆ ในประเทศไทยเป็นอย่างดี และรับผิดชอบภารกิจการควบคุมโรคติดต่อมายาวนานกว่า 10 ปี เป็นผู้ร่วมกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และมาตรการจัดการกับโรคติดต่อ ทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำโรคติดต่อป้องกันด้วยวัคซีน และสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข เป็นผู้บุกเบิกและสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณ์สุข ภายในกรมควบคุมโรคอย่างจริงจัง เมื่อครั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป ที่ต้องรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ 2009 (2009 Influenza Pandemic) ที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยประสบกับการระบาด หลังจากนั้น ได้ใช้ประสบการณ์มาต่อยอดพัฒนาระบบการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินของสาธารณภัยและการระบาดของโรคติดต่อสำคัญ เช่น น้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.2554 ผู้ป่วยเมอร์ส ไข้ชิกา
- เมื่อครั้งที่นายแพทย์โอภาสดำรงตำแหน่งรองอธิบตีกรมควบคุมโรค ท่านเป็นกำลังหลักในการยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติโรคติดต่อฉบับใหม่ ที่ปรับปรุงจากฉบับปีพ.ศ.2523 โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ในการบริหารงานสาธารณสุขตลอดจนความเชี่ยวชาญในภารกิจเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ได้สำเร็จเป็นพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ถือเป็นการพัฒนาเชิงระบบของประเทศไทย เพราะกำหนดให้มีคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการโรคติตต่อจังหวัด และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการรับมีอกับโรคติดต่อและโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าในอดีตมาก
- ระหว่างที่มีวิกฤติการระบาดของโควิด 19 ทั่วโลก ตั้งแต่เตือนมกราคม 2563 ถึง เตือนธันวาคม 2565 ตลอดระยะเวลา 3 ปีเศษ นายแพทย์โอภาสเป็นผู้บริหารสาธารณสุขที่มีบทบาทอย่างสูงตั้งแต่เริ่มตันทั้งในฐานะขุนพลเอกและเสนาธิการของกระทรวงสาธารณสุขที่ยืดหยัดสู้กับโควิดอย่างมุ่งมั่นและทุ่มเทเสียสละ เริ่มจากในปีแรกเมื่อมีการรายงานโรคติตต่ออุบัติใหม่ที่เป็นสาเหตุของโรคปอตอักเสบที่ยังไม่ทราบว่าเป็นเชื้อชนิดใดและประเทศไทยคัดกรองพบผู้ป่วยรายแรกที่สนามบินสุวรรณภูมิ ขณะนั้นท่านตำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการเพื่อให้ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโควิด 19 รายแรกได้สำเร็จ และเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงสำหรับ SARS CoV-2 เพียง 1 ใน 2 แห่งช่วงต้นปี 2563 ต่อได้พัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในระดับเขตสุขภาพ ทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพรับมือกับการระบาดของโควิด 19 ในปีต่อมาอย่างมีความพร้อมสูง ประชาชนเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัยที่มีคุณภาพใด้อย่างรวดเร็ว แพทย์สามารถให้การรักษาได้อย่างถูกต้องกับโรคและเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ทันต่อสถานการณ์
- ต่อมาในเตือนตุลาคม 2563 นายแพทย์โอภาสได้รับความไว้วางใจย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมควบคุมโรค ซึ่งท่านได้นำกำลังของกรมควบคุมโรคร่วมปฏิบัติการกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข อาทิ EOC กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) อีกทั้งวางแผนการดำเนินงานอย่างมีกลยุทธ์ เป็นผู้บริหารที่ปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดี มีการตัดสินใจที่ยอดเยี่ยมในการจัดการกับสถานการณ์ ด้วยวิสัยทัศน์และสายตาที่แหลมคมพิสูจน์ใด้จากผลงานการรบกับโควิด 19 โดยในปลายปี พ.ศ. 2563 เริ่มการจัดหาวัคซีนโควิด 19 เพื่อให้บริการกับผู้คนในประเทศไทย โดยลงนามในสัญญาสั่งซื้อล่วงหน้าจากบริษัท AstraZeneca ที่ผลิตในประเทศไทยและต่อมายังมีการจัดหาวัคจีนชนิดเชื้อตาย บริษัท Sinovac และวัคนชนิด mRNA บริษัท Pfizer จนทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนครอบคลุมสูงมากกว่า 100 ล้านโดสภายในปี พ.ศ.2564 และฉีดเพิ่มอีก 45 ล้านโดส ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเข็มกระตุ้นในปี พ.ศ.2565 ส่งผลให้ประเทศไทยมีความครอบคลุมของวัคซีนมากกว่าร้อยละ 82 และเป็นการช่วยให้ผู้คนในประเทศไทยรอดพันจากการป่วยเสียชีวิตจากโควิด 19 เป็นจำนวนกว่า 5 แสนรายและยังเป็นการป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้อีกจำนวนมาก
ผลงานที่โดดเด่น
- ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลนักเวชศาสตร์ป้องกันดีเด่น ปีพ.ศ.2564 จากสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
- นำทีมกรมควบคุมโรคเข้ารับรางวัลที่สะท้อนถึงศักยภาพการนำองค์กรให้บริการประขาชนอย่างยอดเยี่ยมอีกหลายรางวัลทั้งในระดับขาติและนานาชาติ ดังนี้
- รางวัลเกียรติคุณ ต้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ประเภท องค์กรภาครัฐและภาคประขาสังคม ประจำปี 2564 จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Award 2021)
- รางวัลเกียรติยศ UNPSA : United Nations Public Service Awards ปี 2021 the United Nations Public Service Awards (UNPSA) 2021 for the Department of Disease Control's initiative titled "Intelligent and Sustainable Public Health Emergency System in Thailand," which enhances the response to emergency and health threats and seeks to achieve two Sustainable Development Goals (SDGs), namely, Goal 3 and Goal 17.
- รางวัลเกียรติยศเลิศรัฐ ในปีพ.ศ.2565 โดยกรมควบคุมโรค จำนวน 1 รางวัล เป็นรางวัลสูงสุด มอบให้แก่หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรต้นแบบที่มีความสำเร็จในการพัฒนาที่เป็นเลิศตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายขององค์การ สามารถเป็นตัวอย่างและแนวปฏิบัติที่ดีให้กับองค์การอื่นนำไปใช้ประโยชน์ มีผลงานที่โดดเด่น สร้างคุณค่าต่อสังคม และประเทศ มีการเตรียมความพร้อมขององค์การเพื่อรองรับอนาคต รวมทั้งมีการนำผลงานไปขยายผลเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
#MahidolUniversityNotableAlumni