ศิษย์เก่าสัมพันธ์ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

10 ทักษะที่ผู้บริหารต้องมีการันตีโดยศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล

10 ทักษะที่ผู้บริหารต้องมีการันตีโดยศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล

          ตามรายงานจากระบบ Talent Insights ของเว็บไซต์ LinkedIn เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เน้นด้านเครือข่ายธุรกิจและวิชาชีพ พบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลมีศิษย์เก่าที่ทำงานอยู่ในระดับผู้บริหารจำนวน 3,074 คน (คิดเป็นร้อยละ 7.82 เมื่อเทียบกับจำนวนศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดลทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม) งานศิษย์เก่าสัมพันธ์และบริการด้านอาชีพขอนำเสนอทักษะที่ศิษย์เก่าที่ทำงานในระดับผู้บริหารเหล่านี้มีร่วมกัน 10 อันดับแรก เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาและศิษย์เก่าใช้ในการ Upskills Reskills ต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

(อ้างอิงจาก LinkedIn Talent Insights ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566)

1. ทักษะการบริหารการขาย (Sales Management Skills)

ร้อยละ 20 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 49,414 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

โดยปกติแล้วทักษะนี้เป็นสิ่งจำเป็นของทีมขายที่ต้องการปิดยอดขายได้ตามต้องการ ทักษะบริหารการขายประกอบด้วย การตั้งเป้ายอดขาย, การพัฒนายุทธศาสตร์การขาย, การบริหารจัดการกระบวนการขาย และการฝึกสอนรวมถึงการจูงใจพนักงานที่อยู่ในฝ่ายขาย เป็นต้น การมีทักษะการบริหารการขายสามารถทำให้เราเข้าใจในการทำงานร่วมกับส่วนงานอื่นๆ ในองค์กรได้ดีขึ้นอีกด้วย สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

2. ทักษะการวิเคราะห์ (Analytical Skills)

ร้อยละ 12 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 120,287 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

โดยปกติแล้วทักษะนี้คือการใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์ชุดข้อมูล (เช่น Excel) วิเคราะห์การถดถอยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ตลอดจนการบริหารจัดการชุดข้อมูลจำนวนมาก การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์จะทำให้เราช่วยองค์กรของเราในการตัดสินใจได้ดีขึ้น สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

3. ทักษะการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Skills)

ร้อยละ 10 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 9,452 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้คือการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อช่วยให้องค์กรของเราเข้าถึงลูกค้าได้ตามเป้าหมาย รวมถึงการมีส่วนช่วยด้านการตลาดขององค์กรให้ถึงเป้าหมายได้อีกด้วย สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

4. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis Skills)

ร้อยละ 10 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 10,563 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้เป็นสิ่งจำเป็นถ้าหากเราต้องการตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ โดยในปัจจุบันมีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดีขึ้น เช่น ภาษา Python, โปรแกรม Excel เป็นต้น การใช้เครื่องมือเหล่านี้จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลที่มีจำนวนมากเพื่อช่วยในการตัดสินใจขององค์กรได้ สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

5. ทักษะการพัฒนาธุรกิจใหม่ (New Business Development Skills)

ร้อยละ 10 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 3,376 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้จะทำให้เรารู้จักวิธีพัฒนาธุรกิจ สร้างความร่วมมือทางธุรกิจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการนำกรอบแนวความคิดไปปรับขนาดขององค์กรให้คล่องตัว สร้างความไว้วางใจให้แบรนด์ของเรา และทำให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

6. ทักษะการวิจัยตลาด (Market Research Skills)

ร้อยละ 10 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 12,465 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

การมีเทคนิคในการวิจัยตลาดที่ดีคือการรู้ว่าอะไรคือเป้าหมายของการวิจัยและการรู้ว่าควรนำข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ทักษะนี้จะช่วยให้เรารู้จักลูกค้าได้ลึกขึ้นทำให้องค์กรมีการตัดสินใจได้ดีขึ้น สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

7. ทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development Skills)

ร้อยละ 10 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 4,695 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้จะทำให้เรารู้วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้แก่องค์กรได้ โดยใช้ประโยชน์จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามความชอบของลูกค้า ส่งผลให้องค์กรมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เข้ามาขับเคลื่อนให้สามารถเติบโตได้มากขึ้น สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

8. ทักษะการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analysis Skills)

ร้อยละ 9 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 2,772 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้จะช่วยให้เรารู้จักสูตรในการพัฒนาคำถามที่มีประสิทธิภาพในการดึงความต้องการที่แท้จริงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการใช้ประโยชน์ของแบบจำลองทางธุรกิจเพื่อพัฒนากิจกรรมขององค์กร และการวิเคราะห์รากฐานขององค์กรเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

9. ทักษะการจัดการผลิตภัณฑ์ (Product Management Skills)

ร้อยละ 8 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 2,913 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้ทำให้เรามีกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้าใจในวงจรการผลิต ทำให้ธุรกิจขององค์กรเราเติบโตได้ดียิ่งขึ้น สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

10. ทักษะการทำการตลาดบนสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing Skills)

ร้อยละ 8 ของศิษย์เก่ามีทักษะนี้

มี 1,170 ตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะนี้

ทักษะนี้ช่วยให้เรารู้จักการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง โดยใช้คอนเทนท์ตามกระแสนิยม เพื่อให้องค์กรของเราสามารถเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับลูกค้าได้ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น สำหรับนักศึกษาและศิษย์เก่าที่ต้องการพัฒนาทักษะในด้านนี้ ในเบื้องต้นสามารถเรียนรู้ได้ฟรีจาก LinkedIn Learning (มีบทบรรยายภาษาไทย) ในคอร์สเรียนที่แนะนำ ดังนี้

สำหรับนักศึกษา และ ศิษย์เก่า ที่ต้องการพัฒนาทักษะเหล่านี้ สามารถเรียนรู้ได้ฟรี !! จาก LinkedIn Learning

Facebook
Twitter
Email

ร่วมแสดงความยินดีกับรศ. ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต

กิจกรรม “สร้างสรรค์ของขวัญปีใหม่ด้วยงานคราฟต์ by Punch Needle Workshop”

คืนสู่เหย้าเรามหิดล 🎉 (Mu Blue Night 2025)

เปิดรับสมัครนักศึกษาเพื่อวาดภาพที่ระลึก ภายใต้โครงการอาจารย์ในดวงใจศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2568