The Women's International League for Peace and Freedom (WILPF) is a non-profit non-governmental organization working "to bring together women of different political views and philosophical and religious backgrounds determined to study and make known the causes of war and work for a permanent peace" and to unite women worldwide who oppose oppression and exploitation. WILPF has national sections in 37 countries.

The main concern with using CBD Gummies and Viagra is an increased risk of side effects. While uncommon, Viagra can lead to headaches, dizziness, indigestion, and a condition called priapism which involves painful and long-lasting erections.

ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล

นักวิจัย,สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล

ดร. สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล

หัวหน้าศูนย์วิจัยประยุกต์และพัฒนานวัตกรรมกุ้ง  นักวิจัย ระดับ 2

ผลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในกุ้ง

  1. โมโนโคลนอลแอนติบอดีสำหรับกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้ง โดยไม่ตัดตา

สารโมโนโคลนอลแอนติบอดีต่อฮอร์โมนยับยั้งการพัฒนารังไข่หรือฮอร์โมนจีไอเฮช จะไปยับยั้งฮอร์โมนยับยั้งการพัฒนารังไข่อย่างจำเพาะ จึงสามารถกระตุ้นการพัฒนารังไข่และการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำและแม่พันธุ์กุ้งขาวได้โดยไม่ตัดตา แม่พันธุ์กุ้งจึงมีสุขภาพที่แข็งแรง ให้ลูกกุ้งที่มีคุณภาพ และมีผลผลิตที่เทียบเคียงหรือมากกว่ากับวิธีการตัดตา นอกจากนี้ยังสามารถนำแม่พันธุ์กุ้งมากระตุ้นการวางไข่ซ้ำได้อีก ซึ่งจะช่วยลดการใช้แม่พันธุ์กุ้ง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลูกกุ้งลดลง และเป็นการผลิตลูกกุ้งโดยคำนึงถึงชีวจริยธรรม ซึ่งต่างจากวิธีการตัดตาซึ่งเป็นวิธีที่ทารุณและอาจถูกหยิบยกมาเพื่อใช้กีดกันทางการค้าในอนาคต

  1. แม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ

แม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1 เป็นกุ้งก้ามกรามเพศผู้มีเพศสภาพภายนอกเป็นเพศเมียที่ผ่านกรรมวิธีผลิตกุ้งก้ามกรามแปลงเพศด้วยสารประกอบชีวโมกุลสำหรับกระตุ้นการแปลงเพศในกุ้งก้ามกรามโดยไม่ต้องผ่าตัดเพื่อทำลายต่อมแอนโดรเจนิค ซึ่งเมื่อนำไปผสมพันธุ์กับกุ้งก้ามกรามเพศผู้จะให้ผลผลิตลูกกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่มีขนาดตัวใหญ่ โตเร็วและราคาสูงกว่ากุ้งก้ามกรามเพศเมีย และเมื่อเกษตรกรนำกุ้งก้ามกรามเพศผู้ที่ได้จากแม่กุ้งแปลงเพศ MU1 ไปเลี้ยงในบ่อดิน พบว่าโตเร็วกว่ากุ้งก้ามกรามเพศผู้ทั่วไปประมาณ 20 วัน ส่งผลให้ใช้ปริมาณอาหารที่เลี้ยงกุ้งน้อยลง และลดต้นทุนการผลิตได้ กุ้งก้ามกราม MU1 มีคุณสมบัติเด่น คือ เป็นกุ้งปลอดโรค สุขภาพดี โตเร็ว มีขนาดตัวใหญ่ที่ตรงความต้องการของตลาด ได้ราคาสูง ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย และเพิ่มโอกาสการส่งออกกุ้งก้ามกราม ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมกุ้งก้ามกรามไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

ประวัติการศึกษา

ปีที่จบ ระดับปริญญา สาขาวิชา สถาบันการศึกษา ประเทศ
2542 ตรี วท.บ. (จุลชีววิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไทย
2544 โท วท.ม. (อณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล ไทย
2551 เอก ปร.ด. (อณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล ไทย

เกียรติประวัติ/รางวัลที่เคยได้รับ

  1. รางวัลเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2551
  2. รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2552
  3. รางวัลทะกุจิ ประเภทวิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาเอก ประจำปี 2554
  4. จากสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (Biotechnology Association of Thailand)
  5. รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี ประจำปี 2554 (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  6. รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีเยี่ยม ประจำปี 2557 (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)
  7. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล: สาขาการวิจัย ประจำปีการศึกษา 2558
  8. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ประเภทวิชาการ/วิจัย ประจำปี 2558
  9. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล: สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ประจำปีการศึกษา 2561
  10. รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี ประจำปี 2563 (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

หลังจบการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรอณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดลและเข้าศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิตหลักสูตรอณูพันธุศาสตร์และพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล มีความตั้งใจที่อยากจะทำงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง บรรยากาศในการทำวิจัยและประสบการณ์งานวิจัยที่ได้จากตอนเรียน ปริญญาโทและเอก จากมหาวิทยาลัยมหิดล ช่วยให้มีมุมมองการวิจัยและมีการวางแผนโจทย์วิจัยที่เป็นความต้องการของอุตสาหกรรมกุ้งจริง รวมถึงการวางขั้นตอนการทำงานวิจัยเพื่อให้สามารถยื่นขอรับทรัพย์สินทางปัญญาได้ ซึ่งเป็นขั้นต้นในการนำงานวิจัยไปต่อยอดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้จริง

ในระยะเวลา 13 ปี ของการเป็นนักวิจัยที่เน้นทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จึงมีผลงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมกุ้ง จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ โมโนโคลนอลแอนติบอดีสำหรับกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้ง โดยไม่ตัดตา และแม่กุ้งก้ามกรามแปลงเพศ MU1 ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตกุ้ง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย และเพิ่มโอกาสการส่งออกกุ้ง ซึ่งส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

 

MU QUICK FACT

GRAD YEAR: 2551
FIELD:  SCIENCE AND TECHNOLOGY
FACULTY: INSTITUTE OF MOLECULAR BIOSCIENCES
DEGREE: DOCTOR OF PHILOSOPHY (MOLECULAR GENETICS AND GENETIC ENGINEERING)
CATEGORY: SCIENCE